ระยะหลังมานี้ ท่านอาจจะคุ้นเคยกับเรื่อง “อนาคตของการทำงาน” (Future of Work) กันมากขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจทั้งในไทยและเวทีโลก อย่างเช่น World Economic Forum ให้ความสนใจ และทั่วโลกเห็นตรงกันว่า การเปลี่ยนแปลงนี้กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วฉับพลันกว่าที่คาดหมาย เนื่องจากการ “ดิสรัปท์” (disrupt) ของ
จึงอาจทำให้หลายคนสงสัยว่า ประเทศไทยมีความพร้อมทางบุคลากรและทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต ซึ่งเป็นโลกแห่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ หรือ Internet of things ฯลฯ แล้วหรือยัง
หากมองในเชิงสถิติ ประเทศไทยยังต้องการบุคลากรในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญของงานในอนาคตอีกมาก เพราะจำนวนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึง 2561 อยู่ที่จำนวนประมาณ 4 ล้านคน ในขณะที่ความต้องการจ้างงานของบุคลากรในด้านนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นที่ไทยต้องเร่งเพิ่มทั้งจำนวนและคุณภาพของบุคลากรกลุ่มนี้โดยเร็ว
ด้วยเหตุนี้ “การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21” จึงเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของ
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมคณะ

หลักสูตรใหม่ “ลดเนื้อหาทางวิชาการ เน้นการเรียนแบบปฏิบัติ”
โครงการนี้ มุ่งจะแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาที่สำคัญอันหนึ่งของการศึกษาไทย คือ การที่ครูมักจะเน้น “คำตอบ” มากกว่า “กระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่คำตอบ” รวมถึงหลักสูตรที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนไม่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะเท่าที่ควร ขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ และไม่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบจะปรับปรุงหลักสูตรการเรียนและการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีใหม่ โดยนักเรียนจะได้ลงมือทำมากขึ้น ทำให้ได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาและการคิดอย่างสร้างสรรค์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยจะมีการปรับหลักสูตรของนักเรียนในระดับต่าง ๆ ให้เน้นทักษะที่แตกต่างกันออกไป
พัฒนาโรงเรียนศูนย์อบรมในหลักร้อย ส่งต่อความเป็นเลิศให้แก่เครือข่ายในหลักพัน สร้างบุคลากรในหลักหมื่นและหลักแสน
โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบมีแผนจะพัฒนาครูและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้มีคุณภาพและมีศักยภาพ เป็นโรงเรียนศูนย์ฝึกอบรมจำนวน 200 โรงเรียน (ระดับประถมศึกษา 100 โรงเรียน และระดับมัธยมศึกษา 100 โรงเรียน) เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่โรงเรียนเครือข่ายในลักษณะ Peer Learning Network อีกจำนวน 2,000 โรงเรียน (ระดับประถมศึกษา 1,000 โรงเรียน และระดับมัธยมศึกษา 1,000 โรงเรียน)
นอกจากนี้ มีเป้าหมายจะพัฒนาครูในเครือข่ายดัง

เพาะบ่มความคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ตั้งแต่วัยเยาว์
โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ เน้นการส่งเสริมสมรรถนะนักเรียน (Student Competency) โดยพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต พร้อมปลูกฝังความเป็นนักวิทยาศาตร์ นักวิจัย และนวัตกรรมสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดทักษะการคิดขั้นสูง สามารถสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ โดยมีจุดเน้นในแต่ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันไป ดังนี้

ระดับประถมศึกษา เน้นกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์ที่ “หลากหลายทางพหุปัญญา” เพื่อให้เกิดทักษะการแก้ปัญหาและความคิดอย่างสร้างสรรค์ขั้นพื้นฐาน และทักษะจำเป็นในชีวิตประจำวัน

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เน้นการ “เรียนรู้เชิง

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เน้นการพัฒนาด้วยหลักสูตรและกระบวนการ “เครือข่ายการพัฒนาศักยภาพมหาวิทยาลัย โรงเรียน ครูผู้สอน และนักเรียน” เพื่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้และคิดเชิงระบบ
โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ คืออีกหนึ่ง
แหล่งที่มาของข้อมูล: กระทรวงศึกษาธิการ